ประวัตินาฬิกา

ถ้าให้เล่าเรื่องประวัตินาฬิกา คงต้องเท้าความกลับไปเมื่อ 3,500 กว่าปีก่อน สมัยนั้นนาฬิกา จะไม่ได้อยู่เหมือนในยุคนี้ จะใช้หรือเรียกว่า นาฬิกาแดด อย่างเช่นมีการนัดนัดกล่องพระอาทิตย์เยืองส่วนไหนให้มาพบ หรือไม่ก็อาศัยจากเงา เช่นเงาคนมาอยู่ด้านหน้าให้มาพบกันกันจุดนั้นจุดนี้ หรือเป็นเวลายามนั้นยามนี้ เป็นต้น ก็คือจะอาศัย การเคลื่อนของดวงอาทิตย์เป็นหลัก

ใน ค.ศ. 1364 Giovanni de Dondi เป็นบุคคลแรกที่สร้าง นาฬิกาแบบมีเข็มบอกเวลาเป็นชั่วโมง แต่นาฬิกาของเขามีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีลูกศรบอกตำแหน่งของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงด้วย
Peter Henlein ช่างทำกุญแจชาวเยอรมันเป็นผู้สร้าง นาฬิกาเรือนแรกของโลก ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1500 แต่นาฬิกายังคงมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไม่ต่างจากเดิมเท่าใดนัก
ต่อมาในปี ค.ศ. 1500 Peter Henlein ได้สร้าง นาฬิกาที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา คือ หนักเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น
และในปี ค.ศ. 1641 กาลิเลโอ ได้สังเกตการแกว่งของตะเกียง เขาพบว่าการแกว่งครบรอบของตะเกียงแต่ละครั้งใช้เวลาเท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะแกว่งมากหรือน้อยเพียงใด กาลิเลโอ จึงมอบหมายให้บุตรชายชื่อ Vincenzio Galilei สร้างนาฬิกาโดยใช้การแกว่งของลูกตุ้มเป็นเครื่องควบคุมเวลา เรียกว่า นาฬิกาเพนดูลัม ( Pendulum ) ซึ่งสามารถเดินได้อย่างเที่ยงตรงพอควร
        ในปี ค.ศ.1657 Christian Huygens นักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ประดิษฐ์นาฬิกาโดยใช้หลักของ Pendulum ควบคุมการทำงานโดยมีส่วนประกอบคือ ล้อ ฟันเฟือง และลวดสปริง นาฬิกาแบบนี้สามารถวัดเวลาได้เที่ยงตรงมากกว่านาฬิกาเพนดูลัม
        ในปี ค.ศ.1929 Warren Morrison ได้ประดิษฐ์ นาฬิกาควอตซ์ ขึ้นเฉพาะที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก และในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( chip ) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามี นาฬิกาคอมพิวเตอร์ ใช้กันแล้ว
 สำหรับประเทศไทย คนไทยประดิษฐ์เครื่องบอกเวลาใช้เองเมื่อร้อยปีมาแล้ว คือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีวลีที่กำชับรับสั่งกับข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด มีความว่า " สยามจะอยู่รอด รักษาความเป็นไทไม่เป็นขี้ข้าฝรั่ง จะต้องทำให้คนไทยเชื่อมั่น และต่างชาติเชื่อว่าคนไทยนี้เก่ง " จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากรมอุทกศาสตร์ท่านแรกของสยาม ชื่อ Captain Loftus จัดทำ นาฬิกาแดด ไว้ให้เป็นเครื่องกำหนดหมายบอกเวลา แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน หรืออยุธยาถึงทุกวันนี้
เห็นไหมคะว่านาฬิกาสำคุญแค่ไหน ดังนั้นเมื่อเรามีนาฬิกาที่ดีและมีคุณค่า เราก็ควรจะหากล่องใส่นาฬิกามาเก็บเพื่อรักษาให้นาฬิกาอยู่กับเราได้นานๆคะ

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม